ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicator) ตัวช่วยจำเป็นสำหรับการเทรด ขาดไม่ได้!

None

บทความนี้จะช่วยแนะนำให้มือใหม่หัดเทรดได้เข้าใจว่า เครื่องบ่งชี้ภาวะทางเศรษฐกิจ หรือ Economic Indicator คืออะไร, มีประโยชน์สำหรับการเทรดอย่างไร และอินดิเคเตอร์ตัวไหนที่มีความสำคัญต่อการเทรดมากๆ ที่ท่านจะต้องใช้ ทันทีที่ท่านเข้าสู่ตลาด!

ตัวบ่งชี้เศรษฐกิจ (Economic Indicator) คืออะไร?

อินดิเคเตอร์บ่งชี้ทางเศรษฐกิจ คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ เพื่อประเมินสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ โดยอินดิเคเตอร์ทางเศรษฐกิจแบ่งออกเป็นหลายประเภท แตกต่างกันไป และบางประเภทก็ใช้เฉพาะเจาะจงสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการของประเทศดังกล่าว)

ณ ขณะที่เทรดเดอร์มืออาชีพกำลังเทรด หากพวกเขาไม่มีเวลามากพอในการเฝ้าติดตามอินดิเคเตอร์จำนวนมาก พวกเขาจะเน้นโฟกัสแค่ 3 อินดิเคเตอร์หลักที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานโดยทั่วไป และถึงแม้จะใช้เครื่องมือแค่ไม่กี่อย่าง แต่ก็ยังเข้าใจภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ได้

อินดิเคเตอร์ชี้วัดภาวะทางเศรษฐกิจ 3 ประเภทหลัก ที่ใช้สำหรับการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศหนึ่งๆ ได้แก่:

  • GDP (Gross Domestic Product)
  • CPI (Consumer Price Index)
  • อัตราการว่างงาน (Unemployment)

ทำไมเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจจึงมีประโยชน์สำหรับการเทรด?

เครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อการเทรดมากๆ เนื่องจากมันเป็นเครื่องมือที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้ เพื่อทำความเข้าใจและวัดค่า 'คุณภาพทางเศรษฐศาสตร์' ณ ปัจจุบัน

โดยธนาคารกลางจะคอยพัฒนาและปรับปรุงนโยบายการเงินในประเทศ พร้อมทั้งรับผิดชอบและควบคุมอัตราดอกเบี้ย, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และควบคุมปริมาณเงินของประเทศ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า อินดิเคเตอร์ชี้วัดทางเศรษฐกิจมีความสำคัญมากๆ สำหรับนักเทรด เนื่องจากเครื่องมือเหล่านั้นจะช่วยบ่งบอกข้อมูลว่า ทิศทางสภาวะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจะอย่างไรในอนาคต รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่อาจจำเป็นในการประกอบการตัดสินใจลงทุน

บ่อยครั้ง ที่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินครั้งสำคัญของธนาคารกลางส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน ทำให้เทรดเดอร์หลายคนต้องตะเกียกตะกายทุ่มเงินลงทุนอย่างหนัก หรือบางคนอาจเลือกถอนเงินออกไป เพื่อป้องการความเสี่ยงจากการลงทุน

7 เครื่องมือชี้วัดภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ ขาดไม่ได้สำหรับการเทรด

CPI

CPI (Consumer Price Index) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นอินดิเคเตอร์ทางเศรษฐกิจที่ช่วยวัดค่าการเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อใช้ โดย CPI สามารถบอกมูลค่าที่เปลี่ยนแปลง เช่น ราคา 'ตะกร้าสินค้า' หรือกลุ่มสินค้าและบริการที่กำหนด มีมูลค่าเท่าไหร่ในอดีต และปัจจุบัน

โดย CPI จะได้จากการเปรียบเทียบขั้นพื้นฐาน และระบุว่าสินค้าและบริการนั้นขยายตัวดีขึ้นหรือชะลอตัวลง บางครั้ง CPI ก็สามารถใช้บอก 'ค่าครองชีพ' และใช้เป็นวิธีการในการวัดปริมาณอัตราเงินเฟ้อทั่วไป

ดัชนี CPI สามารถบอกหลายๆ สิ่งให้เทรดเดอร์มืออาชีพทั้งหลายได้รับรู้ และสามารถช่วยชี้แนะแนวทางการลงทุนในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้น ยังบอกการขยายตัวหรือการหดตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวชี้วัดว่า ควรลงทุนอะไรและเมื่อไหร่จึงจะดีที่สุด

GDP

GDP (Gross Domestic Product) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เป็นมูลค่ารวมของสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในประเทศ ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ โดย GDP จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวมีการเติบโตอย่างไรในช่วงเวลานั้น

ดัชนี GDP นั้นคำนวณมาจาก 4 ส่วน ได้แก่ การใช้จ่ายของรัฐบาล (หรือ การลงทุนของภาครัฐ), การลงทุนจากเอกชน, มูลค่าการส่งออก, และการบริโภคของภาคเอกชน

ดังนั้น การขยายตัวของ GDP จึงถือเป็นผลดีในวงกว้าง โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนและนักเทรด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว GDP มักจะค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างช้าๆ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ GDP เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วจนเกินไป ก็อาจมีนัยถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยรวมได้เช่นกัน

ทั้งนี้ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมขั้นสุดท้าย หรือ Real GDP จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถวัดค่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้โดยอาศัยการคำนวณ ซึ่งจะได้ค่าที่แม่นยำและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เพื่อประเมินทิศทางการเทรดในอนาคต หรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

การว่างงาน (Unemployment)

การว่างงาน หมายถึง อัตราการว่างงาน (Umemployment Rate) ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ในทางเศรษฐกิจ หากอัตราการว่างงานต่ำ แสดงว่ารัฐบาลมีการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายที่ดี ซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ในแง่บวกต่อตลาดแรงงาน เช่น การจัดหาคอร์สเรียนฟรี หรือ การสนับสนุนให้ประชาชนเพิ่มทักษะความรู้ที่จำเป็นต่อการทำงาน

และนอกจากนั้น อัตราการว่างงานที่ต่ำยังอาจเป็นผลมาจากระดับการลงทุนในเศรษฐกิจของประเทศ (เช่น เมื่อมีธุรกิจต่างชาติเข้ามาในประเทศ และเป็นแหล่งการทำงานของคนในประเทศ เป็นต้น)

ในขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น ก็อาจเป็นผลมาจากการปราศจากปัจจัยต่างๆ ที่เราได้กล่าวมาข้างต้น และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนอื่นๆ ของประเทศได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น หากมีอัตราการว่างงานสูง ประชาชนก็จะขาดรายได้ และรอพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐ ในขณะที่ประชาชนบางคนอาจกลายเป็นคนเร่ร่อนไปโดยปริยาย ซึ่งนั่นทำให้มูลค่าการใช้จ่ายสำหรับการบริโภคลดน้อยลง เนื่องจากประชาชนต่างก็พากันประหยัด และมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะยังคงใช้จ่ายมากเท่าเดิม ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะเร่งผลิตเม็ดเงินกลับเข้าสู่ประเทศอีกครั้ง

และเนื่องจากเงินทั้งหมดนั้นมาจากงบประมาณของรัฐบาล และการจ่ายเงินภาษีของประชาชน ดังนั้น หากมีผู้ออกมาเรียกร้องเกี่ยวกับภาษีจำนวนมาก ก็อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันเป็นผลมาจากการที่ประชาชนขอลดหย่อนภาษี และลดการจับจ่ายใช้สอยลง เพราะขาดงาน ขายรายได้

รายงานข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจ

เราเชื่อว่านักเทรดทุกคนคงจะมี ปฏิทิน forex หรือ ปฏิทินทางเศรษฐกิจ ที่จะช่วยบอกวันที่ที่จะมีการประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น โดยปฏิทินเหล่านั้นจะบอกช่วงเวลา, มูลค่าอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา, เหตุการณ์สำคัญ, และอารมณ์ของตลาด ณ วันเวลาดังกล่าว เพื่อคาดการณ์ว่าตัวเลขนั้นจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด (ทั้งดีและไม่ดี)

ปฏิทินแจ้งเตือนการประกาศหรือการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางเศรษฐกิจ จึงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเทรด เนื่องจากมันจะช่วยบ่งบอกข้อมูลที่จะมีผลต่อการลงทุนโดยตรง

บัญชีเงินเดือนนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ (U.S. Non-Farm Payrolls หรือ NFP)

ตัวเลข NFP เป็นตัวชี้วัดจำนวนพนักงานใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยไม่รวมการจ้างงานในภาคเกษตร, ภาครัฐ, ครัวเรือนส่วนบุคคล และองค์การไม่แสวงหาผลกำไร

ตัวเลข NFP จะมีการประกาศทุกๆ วันศุกร์แรกของเดือน ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญมากๆ สำหรับนักเทรด forex เพราะ การเปลี่ยนแปลงของ NFP จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ GDP เช่นกัน และเนื่องจากว่าตัวเลข NFP นั้น ประกาศออกมาใหม่อยู่บ่อยๆ ทุกเดือน ทำให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์การทิศทางของ GDP ล่วงหน้าได้ ก่อนที่ตัวเลขจริงจะออกมาด้วยซ้ำ!

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index หรือ IPI)

IPI จะเป็นตัวชี้วัดว่า การผลิตสินค้าดิบของสหรัฐมีปริมาณอย่างไร โดยวัดจากการผลิต, การใช้แก๊ส, การขุด และการใช้ไฟฟ้า โดยเทรดเดอร์จะต้องติดตามอินดิเคเตอร์ชนิดนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจโดยตรง (ในแง่ของการผลิตสินค้า) และยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถใช้คาดการณ์ GDP ในอนาคตได้

ดัชนียอดขายปลีก (Retail Sales Data)

เครื่องมือบ่งชี้ข้อมูลทางเศรษฐกิจชนิดนี้ เรียกอีกอย่างว่า 'รายงานยอดขายปลีกประจำเดือน' ซึ่งถึงแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะไม่ได้เป็นปัจจัยต่อตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจขั้นสุดท้าย แต่ก็สามารถใช้วัดเปอร์เซ็นต์ของการขายเดือนต่อเดือน ได้

ตัวเลขยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้น จะเป็นตัวบ่งบอกที่ชัดเจนว่า เศรษฐกิจกำลังเติบโตได้ดี นั่นเอง

เริ่มเทรดเลย วันนี้!

หากท่านมีความมั่นใจที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดการเงินไปพร้อมๆ กับความรู้ที่ได้รับไปในวันนี้แล้วล่ะก็ เราขอแนะนำให้ท่านลองเปิดประสบการณ์ในการเทรดไปกับ MTrading

เรายินดีที่จะเชิญชวนให้เทรดเดอร์ทุกท่าน สมัครบัญชีเทรดกับเราได้ฟรี เพื่อเทรดบนแพลตฟอร์มชั้นนำอย่าง MetaTrader 4 พร้อมตัวเลือกในการ เปิดบัญชีเดโม่ ฟรี เพื่อทดลองใช้กลยุทธ์เทรดต่างๆ และฝึกฝนเทคนิคการเทรดของท่านให้พร้อมสำหรับการเทรดจริง! ดาวน์โหลด MT4 ได้ฟรี! และสามารถทดสอบการเทรดบน Web version ได้เช่นกัน

และยิ่งไปกว่านั้น ท่านสามารถเทรดด้วยข้อมูลในตลาดแบบเรียลไทม์ พร้อมเงินจำลอง $5,000 ฟรี! เพื่อไม่ต้องนำเงินทุนของท่านมาเสี่ยง และเมื่อใดที่ท่านพร้อมจะรับกำไรจริงๆ ก็เปิด บัญชีจริง กับ MTrading ได้เลยครับ

หมั่นพัฒนาทักษะการเทรดของท่านอยู่เสมอ เรียนรู้ได้จาก ห้องเรียน forex ของเรา!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน