ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

รู้จักบัตรเงินฝาก (Certificate of Depositing) ประเภท CD และข้อดี-ข้อเสียแบบละเอียด!

บัตรเงินฝาก (Certificate of depositing หรือ CD) หรือใบรับรองเงินฝากเป็นเอกสารที่ส่วนใหญ่จะออกโดยธนาคารเป็นหลัก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตราสารการลงทุนที่เป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุน โดยนักลงทุนจะล็อคเงินไว้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ขณะที่ธนาคารจ่ายผลตอบแทนสูงเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารแต่ละแห่ง

None

พูดง่ายๆ หนังสือรับรองการฝากเงินหมายถึงการฝากเงินลงทุนไว้กับธนาคารตามกรอบเวลาที่กำหนดนั่นเอง

ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดถึงหลักการทำงานของ CD รวมถึงข้อดีและข้อเสียของใบรับรองการฝากเงินที่ออกให้กับนักลงทุน

Certificate of Depositing คืออะไร?

พูดให้เห็นภาพง่ายๆ ใบรับรองการฝากเป็นบัญชีออมทรัพย์แบบพิเศษที่จะให้อัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป

ความแตกต่างก็คือหากฝากเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ท่านสามารถถอนเงินออกได้ทุกเวลาที่ต้องการ หากฝากเงินผ่าน CD ผู้ลงทุนจะไม่สามารถถอนเงินดังกล่าวได้จนกว่าจะครบตามระยะเวลาที่ตกลงไว้ ซึ่งอาจทำให้ท่านขาดสภาพคล่อง หรือไม่สามารถใช้เงินนั้นได้ยากฉุกเฉิน และจะมีบทลงโทษและอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงหากท่านประสงค์ที่จะถอนเงินจริงๆ

เมื่อระยะของ CD สิ้นุสด นักลงทุนจะได้รับเงินทุนเดิมบวกกับรายได้ที่เกิดจากดอกเบี้ยทบต้น ซึ่งถึงแม้การฝากเงินรูปแบบนี้จะขาดสภาพคล่องและความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ใบรับรองการฝากเงินก็ยังเป็นหนึ่งในวิธีการลงทุนที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมมากที่สุด

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการบัตรเงินฝาก (Certificate of Depositing)

เพื่อพิจารณาว่าการลงทุนประเภทนี้เหมาะสมกับความต้องการของท่านหรือไม่ ท่านจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของบัตรเงินฝากหรือ CD ดังนี้:

  1. ระยะเวลาที่ชัดเจน เงินที่ฝากไว้ทั้งหมดจะถูกล็อคไว้จนกว่าระยะสัญญาจะสิ้นสุด ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงจากหลายวันเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี นานสุดคือประมาณ 5 ปี แต่ระยะที่นิยมมากที่สุดคือประมาณ 6 เดือน
  2. ผลตอบแทนคงที่ ผลตอบแทนที่ได้รับจะคงที่ตามที่ระบุไว้ ซึ่งแต่ละธนาคารก็อาจให้ผลตอบแทนแตกต่างกันไป
  3. ข้อตกลง CD เป็นข้อตกลงทางการเงินระหว่างธนาคารและบุคคล นอกจากนี้ กองทุนรวม ธุรกิจ และทรัสต์อาจใช้รูปแบบนี้ได้เช่นกัน
  4. รายได้ ในฐานะนักลงทุน ท่านจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเพื่อแลกกับการล็อคเงินไว้ โดย CD สามารถให้อัตราคงที่หรือลอยตัวก็ได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่นักลงทุนจะได้รับเงินเป็นรายเดือนหรือครึ่งปี
  5. ความเสี่ยงต่ำ CD เป็นอีกหนึ่งในการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ได้รับการปกป้องจากความผันผวนซึ่งแตกต่างจากพันธบัตร อย่างไรก็ตาม วงเงินประกันมักจะไม่ค่อยเกิน 250,000 ดอลลาร์ ซึ่งถ้าหากท่านลงทุนมากกว่านั้น เงินของท่านก็อาจไม่ถูกรับประกันนั่นเอง

ที่สำคัญ นักลงทุนยังสามารถเปลี่ยนมือหรือขายใบรับรองเงินฝากในตลาดรองได้อีกด้วย

ประเภทของบัตรเงินฝาก (Certificate of Depositing Types)

หลังจากทราบคุณสมบัติของ CD แล้ว มาลองดูประเภทของใบรับรองการฝากเงินกันบ้าง ซึ่งจะให้อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาที่แตกต่างกันไป ดังนี้:

1. CD ทั่วไป

การลงทุนแบบท่ัวไปจะให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ มีบทลงโทษที่เข้มงวดสำหรับการถอนเงินเร็วกว่ากำหนด นอกจากนี้ กองทุนยังได้รับการคุ้มครองโดยประกันของรัฐบาลกลาง ทำให้เป็นรูปแบบการฝากเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า

2. CDs แบบ Bump-Up

CD รูปแบบนี้ นักลงทุนสามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ภายหลัง อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยส่วนใหญ่นั้นจะต่ำกว่าดอกเบี้ยจาก CD แบบทั่วไป ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยไม่ปรับขึ้น ท่านก็อาจจะได้ผลตอบแทนไม่มากนัก

3. CD แบบ Step-Up

ใบรับรองการฝากเงินแบบ Stand-up คล้ายๆ กับแบบ Bump-up โดยมีข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคืออัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติพร้อมกับการปรับขึ้น นักลงทุนไม่ต้องขอธนาคารเพิ่ม ยิ่งระยะนานขึ้นเท่าไหร่ ท่านก็จะได้รับรายได้ที่สูงขึ้นตามอายุ CD

4. CD ของโบรกเกอร์

การลงทุน CD ประเภทนี้จะต้องซื้อผ่านโบรกเกอร์ โดยธนาคารจะร่วมมือกับตัวแทนโบรกเกอร์เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รับใบรับรองการฝากเงินได้ง่ายขึ้น ข้อดีอีกหนึ่งอย่างคือโบรกเกอร์สามารถต่อรองเพื่อให้นักลงทุนขายในตลาดรองได้

5. CD ที่ไร้โทษ

หรือที่เรียกว่า CD แบบ Liquid ซึ่งมาพร้อมกับบทลงโทษที่มีความเข้มงวดน้อยกว่า ผู้ฝากมีสิทธิ์ใช้เงินฝากได้บางส่วน และเพิ่มหรือถอนยอดฝากได้ยามจำเป็น ทำให้สามารถจัดการเงินได้อย่างยืดหยุ่น แต่ก็ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำเมื่อเทียบกับประเภทอื่นๆ

เอาล่ะ ลองมาดูข้อดี-ข้อเสียของ CD ก่อนตัดสินใจลงทุนกันดีกว่า

ข้อดีของ CD:

  • ความเสี่ยงต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตราสารประเภทอื่น
  • ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากผ่านบัญชีออมทรัพย์
  • โอกาสในการหาผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนสูงจากธนาคารและสถาบันการเงิน
  • โอกาสในการนำเงินไปลงทุนในบัตรเงินฝากอื่นๆ

ข้อเสียของ CD:

  • ขาดสภาพคล่องในการใช้เงิน เนื่องจากจะต้องเก็บเงินไว้เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่กำหนด
  • หากถอนเงินก่อนครบกำหนด จะต้องเสียค่าปรับ
  • แม้ความเสี่ยงต่ำกว่า แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น สกุลเงิน ฯลฯ
  • อัตราดอกเบี้ยคงที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากเงินเฟ้อสูง ท่านก็จะไม่มีการปรับขึ้นตาม

บทสรุปเกี่ยวกับ CD

หนังสือรับรองการฝากเงิน (Certificate of depositing) เป็นตัวเลือกการลงทุนยอดนิยมและปลอดภัยในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง ซึ่งจะให้บริการโดยธนาคารเป็นหลัก มีทั้งอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือลอยตัว และให้ผลตอบแทนสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป อีกทั้งกองทุนของนักลงทุนจะได้รับการคุ้มครองโดยประกันของรัฐบาลกลาง แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องของสภาพคล่องและบทลงโทษในกรณีที่นักลงทุนต้องการถอนเงินก่อนครบกำหนด ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากลำบากในกรณีที่ท่านจำเป็นต้องใช้เงินสดยามฉุกเฉิน

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน