ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

สอนกลยุทธ์การเทรดกองทุน ETF แบบละเอียด สำหรับมือใหม่

การเทรด ETF หมายถึงการเทรดในตราสารประเภทหนึ่งที่ทุกท่านรู้จักกันดี นั่นก็คือ Exchange Traded Fund หรือกองทุนรวมดัชนีนั่นเอง โดยกองทุนประเภทนี้จะรวบรวม ติดตาม และลงทุนตามดัชนีต่างๆ ซึ่งจะมีการลงทุนเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนการลงทุนไปเรื่อยๆ ตามสถานการณ์ตลาด ณ ช่วงเวลาต่างๆ

None

ในบทความวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับกองทุน ETF พร้อมเผยทุกข้อควรรู้ในการเทรด ETF ให้ท่านเริ่มต้นเส้นทางการเทรด ETF และนำเทคนิคต่างๆ ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

การเทรด ETF เป็นยังไง?

ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจ ETF กันแบบง่ายๆ ถ้าจะมองให้เห็นภาพชัดเจน ETF ก็เป็นตราสารการเงินประเภทหนึ่งที่สามารถเทรดได้ทั่วไปเหมือนหุ้นนั่นแหละครับ อีกทั้งยังมีความคล้ายคลึงกับดัชนี และตราสารอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันดีในตลาดอีกมากมาย

การเทรด ETF จะเป็นการติดตามดัชนีต่างๆ ในตลาด, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในแต่ละประเทศ โดยกองทุนรวม ETF ช่วยให้นักลงทุนสามารถติดตามตลาดหรือสินทรัพย์อย่างคู่เงินและตราสารหนี้ได้ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่กองทุน ETF มักจะมีสินทรัพย์หลักที่ติดตามมาเป็นเวลานาน

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

กลยุทธ์การเทรด ETF

วิธีเทรด ETF ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการซื้อขายในรูปแบบ CFDs นั่นเอง อย่างไรก็แล้วแต่ หากจะนำกลยุทธ์การเทรด ETF แต่ละแบบไปใช้ให้ได้ผล ท่านจะต้องมีการเตรียมการและวางแผนการเทรดอยู่เสมอ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือการทำความรู้จักประเภทของ ETF และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกองทุน ETF

จากนั้นเลือกแพลตฟอร์มการเทรดที่รองรับการเทรด ETF พร้อมเงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุดสำหรับฐานนักลงทุนทุกกลุ่ม เอื้อต่อการเทรดในหลายๆ สไตล์และหลายเทคนิค ขั้นสุดท้ายคือการเปิดบัญชีเทรดเพื่อใช้สำหรับการเริ่มต้นเทรด ETF ออนไลน์นั่นเอง

จะเลือกกองทุน ETF อย่างไร?

เนื่องจากมีกองทุน ETF ให้เลือกมากมาย ซึ่งอาจทำให้มือใหม่หัดเทรดสับสนได้ ไม่รู้ว่าจะเลือกกองทุนไหนดี หรือมีกองทุนไหนบ้างที่เหมาะกับสไตล์การลงทุนและกลยุทธ์การเทรดที่ท่านถนัด? แล้วกองทุน ETF แต่ละประเภทต่างกันอย่างไรบ้าง?

เอาล่ะ! อย่าเพิ่งไปไกลกว่านี้ มาทำความรู้จักองค์ประกอบของ ETF ที่ท่านควรรู้จัก เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือก ETF ที่เหมาะกับท่านมากที่สุด ซึ่งมีดังนี้:

  1. ประเภท ETF - ปัจจุบันมีกองทุน ETF ให้เลือกหลายประเภท แต่เราขอแนะนำให้ท่านเลือกประเภทที่สามารถติดตามสินทรัพย์ต่างๆ ได้ และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  2. ขนาดของ ETF ยิ่งกองทุนมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสภาพคล่องสูงเท่านั้น ที่สำคัญ กองทุนใหญ่ๆ มักมีค่าสเปรดต่ำกว่ากองทุนขนาดเล็ก
  3. โครงสร้างของ ETF ท่านอาจจะเลือกการลงทุน ETF โดยตรงและเป็นการถือหลักทรัพย์ไว้ (สำหรับการติดตามตลาด) และ ETF จำลอง (Synthetic ETF) (สำหรับการเทรด ETF ด้วยอนุพันธ์) อย่างไรก็ดี โครงสร้างของกองทุนแต่ละแบบก็มีข้อจำกัดและรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งท่านต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนจะซื้อหรือขาย

ประเภทกองทุน ETF

ในการเลือกลงทุนกองทุน ETF แต่ละประเภท นักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจความแตกต่างของ ETF แต่ละแบบให้ดี ซึ่งประเภท ETF ส่วนใหญ่ที่รู้จักกันดี ได้แก่:

  • Diversified passive equity ETF หรือกองทุน ETF ที่มีการอ้างอิงตามดัชนีนั่นเอง โดยกองทุนประเภทนี้จะสะท้อนความเคลื่อนไหวของ Benchmark ของหุ้นต่างๆ เช่น EAFE, Dow Jones และ S&P 500 เป็นต้น
  • Niche passive equity ETF ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตราสารที่ดีในการปรับพอร์ตของท่าน เนื่องจากตราสารประเภทนี้จะส้อนความเคลื่อนไหวของบริษัทต่างๆ รายย่อยของดัชนี S&P 500 หรือบริษัทที่มีขนาดเล็กกว่านั้น (Russell 2000) โดยกองทุนประเภทนี้ถือเป็นตัวเลือกในการกระจายพอร์ตได้ดีทีเดียว
  • Active equity ETF กองทุนประเภทนี้จะมีผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกสินทรัพย์ต่างๆ ที่จะลงทุน ซึ่งถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักเทรดที่เบื่อกับการติดตามดัชนีตลาดต่างๆ เพียงอย่างเดียว โดยที่น่าสนใจคือกองทุนประเภทนี้ให้ผลตอบแทนดี แต่แน่นอนว่ามาพร้อมความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน

Fixed income ETF ตราสารประเภทนี้เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ชื่นชอบตราสารหนี้และหุ้น ซึ่งเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่คงที่และมั่นคง มีความเสี่ยงน้อย เป็นตัวเลือกที่ดีในการสร้างความมั่นคงให้กับผลงานในพอร์ตของท่าน

วิธีเทรด ETF ด้วยอนุพันธ์

หากท่านกำลังมองหากลยุทธ์การเทรด ETF แบบเร็วๆ ในกลุ่มตลาดต่างๆ จากความเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นๆ การเทรด ETF ด้วยอนุพันธ์ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะ CFD ช่วยให้ท่านสามารถเปิดคำสั่งซื้อขายจากมูลค่ากองทุนเพียงบางส่วนได้ อีกทั้งยังมีเลเวอเรจที่ช่วยขยายกำไร (แต่อย่าลืมว่าอาจขาดทุนได้เช่นกัน) ดังนั้น ไม่ว่าจะลงทุนอะไรก็ตาม อย่าลืมเตรียมกลยุทธ์และเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงให้พร้อมอยู่เสมอนะครับ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน