การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานเป็นเทคนิคพื้นฐานที่นักลงทุนต้องรู้ โดยการวิเคราะห์ทั้ง 2 แบบมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ตลาดการเงินเป็นหลัก แม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างตามเครื่องมือในการเทรดและปัจจัยสำคัญอื่นๆ
วันนี้ เราจะพาทุกท่านไปเรียนรู้ว่าวิธีการทั้ง 2 แบบต่างกันอย่างไร และสามารถใช้หลักการทั้ง 2 แบบร่วมกันได้หรือไม่ รวมถึงอธิบายเกียวกับเครื่องมือที่ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและพื้นฐานแตกต่างกันอย่างชัดเจน
การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical analysis) จะเน้นไปที่การเคลื่อนไหวของราคาแบบนาทีต่อนาที และใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคเพื่อคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคา
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis) เป็นการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อตลาดหรือธุรกิจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
เอาล่ะ คราวนี้ลองมาดูประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ท่านเข้าใจความแตกต่างชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยส่วนใหญ่ นักเทรดทางเทคนิคต้องอาศัยการอ่านกราฟเป็นหลัก ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากที่นักเทรดจะต้องรู้วิธีการอ่านกราฟอย่างละเอียด ขณะที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานต้องอาศัยการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนและโฟลว์ของบริษัท งบดุล และข้อมูลอื่นๆ ที่สามารถให้ความกระจ่างเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ความสามารถในการเติบโต และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย
นักเทรดทางเทคนิคมักไม่สนใจข้อมูลเหล่านี้ เนื่องจากเชื่อกันว่างบการเงินของบริษัทไม่ส่งผลต่อตลาดหุ้นหรือราคาสินทรัพย์ภายในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น พวกเขาจะอาศัยการกำหนดทิศทางของการเคลื่อนไหวของราคา/แนวโน้มแทน
แน่นอนว่าการวิเคราะห์แต่ละแบบอาศัยกรอบเวลา (Timeframe) ที่แตกต่างกัน โดยนักเทรดที่อาศัยปัจจัยพื้นฐานจะเน้นการลงทุนในระยะยาวมากกว่า ขณะที่นักเทรดทางเทคนิคชอบกลยุทธ์ระยะสั้น ฉะนั้น หากท่านต้องการการวิเคราะห์ทางเทคนิค ท่านควรใช้กราฟและแพทเทิร์นที่ช่วยติดตามราคาภายในช่วงรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
หากท่านเน้นไปที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ท่านต้องเตรียมพร้อมและรอเป็นช่วงเวลาหลายเดือนหรือหลายปีเพื่อพิจารณามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทที่ออกตราสารต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนระยะยาวเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะระบุราคาหุ้นได้อย่างถูกต้องในระยะสั้น และยังมองว่าการคาดการณ์มูลค่าหลักทรัพย์อาจไม่ถูกต้องหากไม่ได้อาศัยระยะเวลาในการติดตามที่นานมากพอ นอกจากนี้ พวกเขาเชื่อว่าราคาสินทรัพย์จะสัมพันธ์กันและปรับเปลี่ยนได้ดีขึ้นในระยะยาว โดยอาจนานเป็นปีเลยก็ว่าได้
ความแตกต่างที่สำคัญอีกประการระหว่างการวิเคราะห์ทางเทคนิคและพื้นฐานคือเวลาที่จำเป็นในการสร้างข้อมูลเฉพาะ โดยนักเทรดทางเทคนิคสามารถวางแผนกราฟและดูการเคลื่อนไหวของราคาได้ทุกนาที ขณะที่นักเทรดฝั่งปัจจัยพื้นฐานต้องรอเป็นเวลาหลายเดือนจนกว่าข้อมูลการวิเคราะห์ที่จำเป็นจะถูกสร้างขึ้นและสะท้อนให้เห็นในตลาด
เมื่อต้องเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ละคนอาจมีเป้าหมายที่แตกต่างกันในใจ โดยนักเทรดทางเทคนิคเป็นเหมือนนักเทรด Full-time ที่ทำการซื้อขายหลายสิบหรือหลายร้อยรายการในแต่ละวันผ่านคำสั่งระยะสั้นและระยะกลาง ส่วนนักเทรดฝั่งปัจจัยพื้นฐานจะให้ความสำคัญกับรายได้ที่สม่ำเสมอและไร้ความเสี่ยง เนื่องจากพวกเขาไม่จำเป็นต้องคอยเฝ้าติดตามกราฟและอินดิเคเตอร์ตลอดทั้งวัน ทำให้มีเวลาเหลือสำหรับงานประจำวันและกิจวัตรประจำวัน
การวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานมักถูกใช้แยกกัน เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่าการวิเคราะห์ทั้ง 2 แบบสามารถใช้ร่วมกันได้ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรดส่วนใหญ่มักอาศัยการวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานควบคู่กันเพื่อให้ทราบหากหุ้นที่มีมูลค่าต่ำเกินไป (ด้วยการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน) และระบุจุดเข้า/ออกของตลาดที่ดีที่สุด (ด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค) ดังนั้น เป็นทางเลือกที่ดีที่จะใช้ทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกัน
การวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานเป็นสองแนวทางที่แตกต่างกันซึ่งอาศัยการเรียนรู้ ติดตาม และรูปแบบการเทรดที่แตกต่างกัน นักเทรดด้วยปัจจัยทางเทคนิคมักเน้นการเทรดระยะสั้นๆ ด้วยข้อมูลเชิงลึกของตลาดที่วิเคราะห์ผ่านกราฟและอาศัยการใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิค ขณะที่นักลงทุนที่อาศัยปัจจัยพื้นฐานเป็นหลักมักมองหาโอกาสในการลงทุนระยะยาวและมุ่งเน้นไปที่ตัวบ่งชี้ที่สำคัญของบริษัทที่ส่งผ่านงบการเงิน โดยถึงแม้ทั้งสองรูปแบบจะแตกต่างกัน แต่ก็ยังสามารถใช้ร่วมกันได้ เพื่อให้การเทรดและการคาดการณ์ราคาเป็นไปอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน